Myspace Glitter Graphics, MySpace Graphics, Glitter GraphicsMyspace Glitter Graphics, MySpace Graphics, Glitter GraphicsMyspace Glitter Graphics, MySpace Graphics, Glitter GraphicsMyspace Glitter Graphics, MySpace Graphics, Glitter GraphicsMyspace Glitter Graphics, MySpace Graphics, Glitter GraphicsMyspace Glitter Graphics, MySpace Graphics, Glitter GraphicsMyspace Glitter Graphics, MySpace Graphics, Glitter Graphics
Backgrounds From myglitterspace.Com

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550


สื่อกราฟิกประเภทแผนภาพ Diagram เป็นสื่อที่รับรู้จากการมองเห็น โดยพยายามแสดงสาระที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ การทำงานของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มีลักษณะแตกต่างกันดังนี้แผนภาพลายเส้นแสดงระบบประปาเข้าอาคาร
1. แผนภาพลายเส้น เนื่องจากการมองภาพของจริงบางชนิดยากแก่การทำความเข้าใจ จึงมีการเขียนเป็นลายเส้นโดยลดความซับซ้อนในรายละเอียดลงไปบ้างก็ได้ หรือให้เหมือนมองทะลุผ่านเข้าไปภายในก็ได้ แล้วมีเส้นตรง เส้นโค้ง เป็นตัวเชื่อมโยงให้เห็นความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น แผนภาพลายเส้นแสดงการปิด-เปิดวงจรไฟฟ้า ระบบสูบน้ำขึ้นอาคารแผนภาพแบบรูปภาพการรับสัญญาณโทรทัศน์จากสายอากาศ 2 ชุด
2. แผนภาพแบบรูปภาพ เป็นแผนภาพที่ใช้ภาพจริง เช่น ภาพถ่าย หรือภาพเหมือนจริงที่เขียนขึ้นใหม่มาจัดเป็นองค์ประกอบแล้วแสดงความสัมพันธ์กันด้วยเส้นที่จัดไว้อย่างเป็นระเบียบ เช่น แผนภาพการทำงานของชุดเครื่องเสียง การรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แผนภาพแบบผสม และส่วนต่างๆ ของรถยนต์
3. แผนภาพแบบผสม เป็นการรวมกันระหว่างแบบลายเส้นและแบบรูปภาพ โดยเน้นที่ความเหมือนจริง แล้วเพิ่มลายเส้นลงไปในภาพ เพื่อแสดงความสัมพันธ์หรือการทำงานของสิ่งนั้นๆ เช่น ภาพแสดงการไหลเวียนอากาศในรถยนต์


สรุปเนื้อหาความหมายของสื่อการสอนความหมายของสื่อการสอน
หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆที่ครูผู้สอนนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือเป็นตัวเชื่อมในการถ่ายทอด ความรู้ ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดมีคุณค่าและคุณสมบัติเศษแตกต่างกันในการเก็บความรู้และแสดงความหมาย บางชนิดสามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวมันเองแต่บางชนิดต้องอาศัยสื่ออื่นประกอบในการถ่ายทอดจึงจะสื่อความหมายได้ดีสื่อบางชนิดได้รับการออกแบบเป็นอย่างดีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และหาประสบการณ์ได้ด้วยตนเอง โดยที่ครูสอนไม่จำเป็นต้องนำมาแสดงในขณะที่สอน สื่อชนิดนี้เรียกว่า สื่อการเรียนรู้(learning media) เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( computer – assistedinstruction ) บทเรียนสำเร็จรูป( instructional textbook ) ศูนย์การเรียน( learning center )ชุดการเรียน(instructional package ) เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นสื่อการสอนหรือสื่อการเรียนรู้ต่างก็ทำหน้าที่เป็นพาหะในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากแหล่งกำเนิดต่างๆไปสู่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นคุณค่าสื่อการสอนสื่อการสอนแต่ละชนิดมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนดังนี้
1. เป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้เรียน
2. ทำให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น
3. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวางขึ้น
4. ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน
5. แสดงความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆได้
6. ให้ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้
7. แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่ายขึ้น
8. อธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น
9. สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่างๆได้เช่น
9. 1 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้นได้
9.2 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าขึ้นได้
9.3 ย่อสิ่งที่เล็กเกินไปให้เล็กลงได้
9.4 ขยายสิ่งที่ใหญ่เกินไปให้ใหญ่ขึ้นมาได้
9.5 นำสิ่งที่อยู่ไกลเกินไปมาศึกษาดูได้
9.6 นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาให้ดูได้คุณค่าของสื่อการสอนด้านต่างๆสื่อการสอนแต่ละชนิดมีคุณค่าในด้านต่างๆดังนี้
1. คุณค่าด้านวิชาการ
1.1 ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยตรงด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5
1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช้สื่อการสอน
1.3 ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่างๆได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
1.4 ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา
1.5 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง แม่นยำและจำได้นาน
1.6 สื่อการสอนบางชนิดช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพวีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
2.1 กระตุ้นความสนใจและความต้องการของผู้เรียนมากขึ้น
2.2 ทำให้ผู้เรียนเกิดคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
2.3 ทำให้เกิดความพึงพอใจในการเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นรูปธรรม
2.4 ทำให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระของบทเรียนได้นานกว่าการไม่ใช้สื่อการสอน
3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจ
3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น
3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่างๆ
3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้พร้อมกันครั้งละหลายๆคน
3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะทาง


สี
คุณลักษณะของสี เป็นการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเกิดความสวยงาม และความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง คุณลักษณะของสีที่ใช้ โดยทั่วไป มีดังนี้ คือเอกรงค์ (Monochrome) เป็นการใช้สีเพียงสีเดียว แต่มีหลาย ๆ น้ำหนัก ซึ่งไล่เรียงจากน้ำหนักอ่อนไปแก่ เป็นการใช้สีแบบดั้งเดิม ภาพ จิตรกรรมไทย แบบดั้งเดิมจะเป็นลักษณะนี้ ต่อมาเมื่อมีการใช้สีอื่น ๆ เข้ามาประกอบมากขึ้น ทำให้มีหลายสี ซึ่งเรียกว่า "พหุรงค์" ภาพแบบสี เอกรงค์ มักดูเรียบ ๆ ไม่ค่อยน่าสนใจวรรณะของสี (Tone) สีมีอยู่ 2 วรรณะ คือ วรรณะสีร้อน และ สีเย็น สีร้อนคือสีที่ดูแล้วให้ความรู้สึกร้อน สีเย็นคือสีที่ดูแล้วรู้สึกเย็น ซึ่งอยู่ใน วงจรสี สีม่วงกับสีเหลืองเป็นได้ทั้งสีร้อนและสีเย็น แล้วแต่ว่าจะอยู่กับกลุ่ม สีใด การใช้สีในวรรณะเดียวกันจะทำให้เกิดรู้สึกกลมกลืนกัน การใช้สี ต่างวรรณะจะทำให้เกิดความแตกต่าง ขัดแย้ง การเลือกใช้สีในวรรณะ ใด ๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการ และจุดมุ่งหมายของงานค่าน้ำหนักของสี (Value of colour) เป็นการใช้สีโดยให้มีค่าน้ำหนัก ในระดับต่าง ๆ กัน และมีสีหลาย ๆ สี ซึ่งถ้าเป็นสีเดียว ก็จะมีลักษณะเป็น สีเอกรงค์ การใช้ค่าน้ำหนักของสี จะทำให้เกิดความกลมกลืน เกิดระยะ ใกล้ไกล ตื้นลึก ถ้ามีค่าน้ำหนักหลาย ๆ ระดับ สีก็จะกลมกลืนกันมากขึ้น แต่ถ้ามีเพียง1 - 2 ระดับที่ห่างกัน จะทำให้เกิดความแตกต่างความเข้มของสี (Intensity)เกิดจาก สีแท้ คือสีที่เกิดจากการผสมกัน ในวงจรสี เป็นสีหลักที่ผสมขึ้นตามกกฎเกณฑ์และไม่ถูกผสมด้วยสีกลาง หรือสีอื่น ๆ จะมีค่าความเข้มสูงสุด หรือแรงจัดที่สุด เป็นค่าความแท้ของสี ที่ไม่ถูกเจือปน เมื่อสีเหล่านี้ อยู่ท่ามกลางสีอื่น ๆ ที่ถูกผสมให้เข้มขึ้น หรือ อ่อนลง ให้มืด หม่น หรือเปลี่ยนค่าไปแล้ว สีแท้จะแสดงความแรงของสี ปรากฎออกมาให้เห็น อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดจุดสนใจขึ้นในผลงาน ลักษณะเช่นนี้ เหมือนกับ ดอกเฟื่องฟ้าสีชมพูสด ๆ หรือบานเย็น ที่อยู่ท่าม กลางใบเฟื่องฟ้าที่เขียวจัด ๆ หรือ พลุที่ถูกจุดส่องสว่างในยามเทศกาล ตัด กับสีมืด ๆ ทึบ ๆ ทึมๆ ของท้องผ้ายามค่ำคืน เป็นต้นสีส่วนรวม (Tonality) เป็นลักษณะที่มีสีใดสีหนึ่ง หรือกลุ่มสีชุดหนึ่งที่ใกล้ เคียงกัน มีอิทธิพลครอบคลุม สีอื่น ๆ ที่อยู่ในภาพ เช่น ในทุ่งดอกทานตะวัน ที่กำลังออกดอกชูช่อบานสะพรั่ง สีส่วนรวมก็คือ สีของดอกทานตะวัน หรือ บรรยากาศการแข่งขันฟุตบอลในสนาม ถึงแม้ผู้เล่นทั้งสองทีมจะแต่งกาย ด้วยเสื้อผ้า หลากสีต่างกันก็ตาม แต่ สีเขียวของสนามก็จะมีอิทธิพลครอบ คลุม สีต่าง ๆ ทั้งหมด สีใดก็ตามที่มีลักษณะเช่นนี้ เป็นสีส่วนรวมของภาพ


การออกแบบกราฟิก
ความหมายการออกแบบหมายถึง กระบวนการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆทำให้เราสามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ซึ่งอาจเป็นทางตาหูผิวสัมผัส รส กลิ่นก็ได้แนวคิด....การออกแบบ เกิดจากพื้นฐานทางความคิดและทางทัศนการสื่อสาร(visual communication)แนวคิด.....การออกแบบเป็นการรักษาสมดุลระหว่างการแสดงออกหรือพลังความคิดสร้างสรรค์เฉพาะบุคคล กับความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายความสำคัญการออกแบบเป็นเรื่องของมนุษย์โดย สัตว์อื่นๆไม่สามารถออกแบบได้ นอกจากการสร้างงานด้วยสัญชาตญาณเท่านั้น มนุษย์มีการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การออกแบบมีมาพร้อมๆกับการเกิดของมนุษย์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และตั่งแต่เกิดจนตายเป้าหมาย
1. เพื่อความสะดวกสบายและตอบสนองความต้องการของมนุษย์
2. เพื่อการสร้างสรรค์และแสดงคุณค่าของผลงาน
3. เพื่อการวางแผนในเชิงทรัพยากรหรือการลดต้นทุน
4. เพื่อประหยัดเวลาในการนำเสนอข่าวสาร
5. เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ผู้รับเข้าใจได้อย่างถูกต้องคุณสมบัติของนักออกแบบ
1. มีความรู้ความสามารถและทักษะในการออกแบบ
2. เข้าใจกระบวนการใช้งานออกแบบได้อย่างเหมาะสม
3. มีวิธีนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์และโดดเด่น
4. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
5. สามารถประยุกต์ใช้จิตวิทยาการรับรู้ได้อย่างดีกระบวนการออกแบบ
1. พิจารณาเนื้อหา
2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
3. วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของแต่ละงาน
4. จัดองค์ประกอบให้เหมาะสมกับข้อ1,2,และ3

ไม่มีความคิดเห็น: