การแบ่งชนิดและประเภทของสื่อการสอนนั้นก็มีผู้แบ่งไว้แตกต่างกันไป แต่โดยสรุปแล้วสื่อการสอนจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. สื่อประเภทวัสดุ (software)หมายถึงสื่อที่มีขนาดเล็ก ทำหน้าที่เก็บเนื้อหาความรู้ในลักษณะของภาพและเสียง สื่อประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1.1 สื่อวัสดุประเภทสิ่งพิมพ์ (printed) เช่น เอกสารคำสอน หนังสือ ตำรา และสื่อประเภทที่ต้องเขียนหรือพิมพ์ทุกชนิด
1.2 สื่อวัสดุประเภทไม่ใช่สิ่งพิมพ์ (non print) เป็นสื่ออื่นๆที่นอกเหนือจากสิ่งพิมพ์ เช่น ของจริง ของตัวอย่าง ของจำลอง กระดานดำ ป้ายชนิดต่าง ๆ รวมถึงวัสดุที่ต้องใช้กับเครื่องมือ เช่น ม้วนเทปบันทึกเสียง ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นโปร่งใส เทปบันทึกภาพ หรือแผ่นดิสก์ 2. สื่อประเภทอุปกรณ์ (hardware) เป็นสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้า เมื่อจะทำงาน เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องฉายภาพโปร่งใส เครื่องเทปบันทึกเสียง วิทยุ วิดีโอเทป เครื่องขยายเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ 3. สื่อประเภทวิธีการ (technique) เป็นสื่อประเภทวิธีการและกิจกรรมหรือกระบวนการและวิธีการสอนต่างๆ เช่น การบรรยาย การสาธิต การสอนรายบุคคล เกมส์ การแสดงละคร กลุ่มสัมพันธ์ การศึกษานอกสถานที่ สถานการณ์จำลอง บทบาทสมมุติชม (2524 : 19) ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. อุปกรณ์หรือเครื่องมือ (Equipment หรือ hardware หรือ Big media) เป็นเรื่องของเครื่องยนต์ กลไก ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิคส์ทั้งหลาย ได้แก่ เครื่องฉายต่างๆ เครื่องวิทยุโทรทัศน์ เครื่องบันทึกเทป เครื่องเล่นซีดี พวกนี้ จะต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ เพื่อนำสารออกไปยังผู้รับสาร 2. วัสดุ (Software) หรือ สื่อเล็ก Small Media) สื่อพวกนี้บางอย่างทำงานเองได้ บางอย่างต้องใช้สื่อใหญ่ Big media
3. วิธีการ สื่อประเภทนี้อาจจะเป็นการกระ เป็นการปฏิบัติ ซึ่งอาจจะใช้สื่อประเภทเบาด้วยก็ได้ไม่มีก็ได้ พวกวิธีการก็มีละคร การสาธิต บทบาทสมมติ
เกอร์ลัชและอีลี (Gerlach & Ely , 1979 : 243 ) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ดังนี้
เดล (Dale , 1969: 107) แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 11 ประเภท
1. วัสดุ (Materials) เป็นเนื้อหาวิชาความรู้หรือสิ่งที่เราเก็บและส่งผ่านไปยังผู้รับซึ่งเรียกว่า software เช่น เนื้อหาความรู้ในฟิล์มภาพยนตร์ ซึ่งไม่ใช่ตัวฟิล์มภาพยนตร์ที่เป็นแผ่น
2. เครื่องมือ ( Equipment) เป็นเครื่องมือที่ส่งเนื้อหาความรู้ เรียกว่า Hardware เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์กับฟิล์มภาพยนตร์ เครื่องฉายข้ามศีรษะกับแผ่นภาพโปร่งใส เทปโทรทัศน์ เครื่องเล่นเทป และเครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น 3. เทคนิค (Technique) คือ กระบวนการใช้ เครื่องมือและวัสดุในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น การเล่นเกม การจัดสถานการณ์จำลอง การสาธิต การทดลอง เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้บางครั้งเรียกว่า สื่อประสม ( Multimedia)
นอกจากนี้แล้วเกอร์ลัชและอีลีได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนออกเป็น 8 ประเภท คือ
นอกจากนี้แล้วเกอร์ลัชและอีลีได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนออกเป็น 8 ประเภท คือ
1. ของจริง (Real Things) รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ การสาธิตของจริงค่อนข้างจะแตกต่างกับสื่ออื่นๆ ที่ไม่สามารถจะใช้แทนวัตถุหรือเหตุการณ์ได้ เกอร์ลัชและอีลี ได้ยกตัวอย่าง เด็กชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ครูพาไปดูกระบวนการในการทำนมสด โดยการพานักเรียนไปทัศนศึกษา เด็กได้ชิมนมสดที่เพิ่งได้ทำพลาสเจอร์ไรส์แล้วซึ่งเป็นการที่เด็ก ได้สัมผัสกับของจริง
2. วจนสัญลักษณ์ (Verbal Presentations) วจนสัญลักษณ์รวมไปถึงสิ่งพิมพ์ (printed materials) เช่น หนังสือ คู่มือ คำพูดที่เขียนลงบนกระดาน ชื่อที่เขียนลงบนป้ายนิเทศ การใช้วจนสัญลักษณ์นั้น ใช้ผสมกับสื่ออื่นๆ เช่น เป็นคำบรรยายภาพ เป็นชื่อเรื่องในแผ่นสไลด์ ในแผ่นซีดี เพื่อเป็นแนว ในการบันทึกเสียง หรือเป็นแถบเสียงที่อยู่ในฟิล์มภาพยนตร์ 3.วัสดุกราฟิก (Graphic Presentations) เช่น แผนภูมิ , แผนภาพ, แผนที่, แผนผัง, ภาพวาด, โปสเตอร์, การ์ตูน เป็นต้น วัสดุประเภทนี้นอกจากจะนำมาใช้ได้โดยตรงแล้ว ยังสามารถปรากฏ ในหนังสือแบบเรียน หนังสืออ้างอิงต่างๆ สิ่งที่อยู่ในสไลด์ในฟิล์มสคริปส์หรือในแผ่นภาพโปร่งใส 4. ภาพนิ่ง (Still Picture) เป็นภาพถ่ายของวัตถุต่างๆ หรือเหตุการณ์ประกอบเป็นภาพนิ่ง ภาพถ่าย อาจปรากฏเป็นรูปภาพในหนังสือ ป้ายนิเทศ สไลด์ ฟิล์มสคริป แผ่นภาพโปร่งใส ภาพนิ่ง เป็นภาพที่ได้บันทึกจากวัตถุจริงๆหรือเหตุการณ์ต่างๆ
5. ภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture) ได้แก่ ภาพยนตร์หรือเทปโทรทัศน์ ทั้งสีและขาวดำ ซึ่งถ่ายจากชีวิตจริงหรือจากสถานการณ์จำลอง หรือจากวัสดุกราฟิค ถ้าเป็นการถ่ายจากของจริงหรือ ถ่ายเหตุการณ์อาจจะมีการเคลื่อนไหวตามปกติ แต่ถ้าเป็นการถ่ายโดยวิธีถ่าย Slow motion หรือ Time lapse หรือ Stop motion วัตถุหรือเหตุการณ์ที่ถูกถ่าย อาจถูกตัดต่อให้สั้น หรือเน้นส่วนที่สำคัญ ภาพยนตร์หรือเทปโทรทัศน์อาจเป็นแบบเงียบหรือแบบมีเสียงประกอบก็ได้ ซึ่งเสียงควรจะมีความสัมพันธ์กับภาพซึ่งปรากฏอยู่บนจอภาพ
2. วจนสัญลักษณ์ (Verbal Presentations) วจนสัญลักษณ์รวมไปถึงสิ่งพิมพ์ (printed materials) เช่น หนังสือ คู่มือ คำพูดที่เขียนลงบนกระดาน ชื่อที่เขียนลงบนป้ายนิเทศ การใช้วจนสัญลักษณ์นั้น ใช้ผสมกับสื่ออื่นๆ เช่น เป็นคำบรรยายภาพ เป็นชื่อเรื่องในแผ่นสไลด์ ในแผ่นซีดี เพื่อเป็นแนว ในการบันทึกเสียง หรือเป็นแถบเสียงที่อยู่ในฟิล์มภาพยนตร์ 3.วัสดุกราฟิก (Graphic Presentations) เช่น แผนภูมิ , แผนภาพ, แผนที่, แผนผัง, ภาพวาด, โปสเตอร์, การ์ตูน เป็นต้น วัสดุประเภทนี้นอกจากจะนำมาใช้ได้โดยตรงแล้ว ยังสามารถปรากฏ ในหนังสือแบบเรียน หนังสืออ้างอิงต่างๆ สิ่งที่อยู่ในสไลด์ในฟิล์มสคริปส์หรือในแผ่นภาพโปร่งใส 4. ภาพนิ่ง (Still Picture) เป็นภาพถ่ายของวัตถุต่างๆ หรือเหตุการณ์ประกอบเป็นภาพนิ่ง ภาพถ่าย อาจปรากฏเป็นรูปภาพในหนังสือ ป้ายนิเทศ สไลด์ ฟิล์มสคริป แผ่นภาพโปร่งใส ภาพนิ่ง เป็นภาพที่ได้บันทึกจากวัตถุจริงๆหรือเหตุการณ์ต่างๆ
5. ภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture) ได้แก่ ภาพยนตร์หรือเทปโทรทัศน์ ทั้งสีและขาวดำ ซึ่งถ่ายจากชีวิตจริงหรือจากสถานการณ์จำลอง หรือจากวัสดุกราฟิค ถ้าเป็นการถ่ายจากของจริงหรือ ถ่ายเหตุการณ์อาจจะมีการเคลื่อนไหวตามปกติ แต่ถ้าเป็นการถ่ายโดยวิธีถ่าย Slow motion หรือ Time lapse หรือ Stop motion วัตถุหรือเหตุการณ์ที่ถูกถ่าย อาจถูกตัดต่อให้สั้น หรือเน้นส่วนที่สำคัญ ภาพยนตร์หรือเทปโทรทัศน์อาจเป็นแบบเงียบหรือแบบมีเสียงประกอบก็ได้ ซึ่งเสียงควรจะมีความสัมพันธ์กับภาพซึ่งปรากฏอยู่บนจอภาพ
6. การบันทึกเสียง (Audio Recording) ได้แก่ เสียงจากเทปบันทึกเสียง แผ่นซีดีรอม เป็นต้น เสียงสามารถตัดต่อได้ ความสำคัญของการบันทึกเสียง คือ การใช้วจนวัสดุมาบันทึกนั่นเอง
7. บทเรียนโปรแกรม (Programmed Instruction) เป็นสื่อที่จัดลำดับขั้นตอนในสิ่งที่จะสอน อาจจะใช้สื่อประเภทสัญลักษณ์ทัศนวัสดุ หรือโสตวัสดุเข้ามาช่วย เช่น บทเรียนโปรแกรม ที่ใช้กับเครื่องช่วยสอน หรือใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ บทเรียนโปรแกรมนี้สามารถนำมาใช้กับสื่อชนิดต่างๆ หรือใช้ผสมกันได ้ เช่น สไลด์ เทป ฟิล์มภาพยนตร์ ฟิล์มสคริป ผู้เรียนจะต้องตอบ อย่างกระฉับกระเฉง ก่อนที่นำเนื้อหาในกรอบ (frame)ใหม่จะปรากฏออกมาอีก ผู้เรียนจะรู้ได้ทันทีว่าเขาจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
8. สถานการณ์จำลอง (Simulation) สถานการณ์จำลองก็เป็นสถานการณ์จริง จัดขึ้นให้ใกล้เคียงกับเหตุการณ์หรือเหมือนกับสถานการณ์จริง เช่น การจำลองการหัดขับรถโดยทำสภาพถนน ฉายบนจอและให้คนขับทดลองขับหลบหลีกเครื่องกีดขวาง เป็นต้น การใช้สถานการณ์จำลองสามารถใช้ร่วมกับสื่อต่าง เช่น คอมพิวเตอร์ เทปบันทึกเสียง เครื่องฉายภาพยนตร์ สไลด์ ของจริง เป็นต้น7. บทเรียนโปรแกรม (Programmed Instruction) เป็นสื่อที่จัดลำดับขั้นตอนในสิ่งที่จะสอน อาจจะใช้สื่อประเภทสัญลักษณ์ทัศนวัสดุ หรือโสตวัสดุเข้ามาช่วย เช่น บทเรียนโปรแกรม ที่ใช้กับเครื่องช่วยสอน หรือใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ บทเรียนโปรแกรมนี้สามารถนำมาใช้กับสื่อชนิดต่างๆ หรือใช้ผสมกันได ้ เช่น สไลด์ เทป ฟิล์มภาพยนตร์ ฟิล์มสคริป ผู้เรียนจะต้องตอบ อย่างกระฉับกระเฉง ก่อนที่นำเนื้อหาในกรอบ (frame)ใหม่จะปรากฏออกมาอีก ผู้เรียนจะรู้ได้ทันทีว่าเขาจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
อีริคสัน ( Erickson , 1965) ได้จำแนกสื่อการสอนออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. สื่อเก่า (Old or Traditional Media)
ได้แก่ หุ่นจำลอง วัสดุกราฟิก ภาพยนตร์ ภาพนิ่งทั้งหลาย เทปบันทึกเสียง เป็นต้น2. สื่อใหม่ (New Media)
ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ ชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
อีริคสันและเคิร์ล ( Erickson & Curl , 1965) ได้จำแนกสื่อการสอนออกเป็น 2 ประเภทคือ1. สื่อทัศนะที่ไม่ต้องฉาย ( Non-Projected Visual Media)
ได้แก่ สื่อประเภทหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ รูปภาพ ของจริง การทัศนะศึกษา หุ่นจำลอง สถานการณ์จำลองและเกมส์ วัสดุกราฟิก ป้ายนิเทศและนิทรรศการ กระดานข่าว แผ่นป้ายผ้าสำลี กระเป๋าผนัง แผ่นป้ายไฟฟ้า และอื่น
2. สื่อที่ต้องฉายและสื่ออิเลคทรอนิค (Projected and Electronic Media)
ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ภาพนิ่งที่ต้องฉาย เช่นฟิล์ใสคริป สไลด์ แผ่นภาพโปร่งใส การฉายไมโคร การฉายวัสดุทึบแสง เป็นต้น การบันทึกเสียง เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ
เดล (Dale , 1969: 107) แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 11 ประเภท
โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น โดยยึดถือเอาความเป็นนามธรรมและรูปธรรม เป็นหลักในการจัดแบ่งประเภท เดลได้จัดแบ่งประเภทของสื่อในรูปของกรวยประสบการณ์ (Core of experience) โดยจัดสื่อที่มีความเป็นรูปธรรม มากที่สุดไว้เป็นฐานกรวย และสื่อที่เป็นนามธรรม ที่สุดไว้ที่ ยอดกรวย ดังนี้
1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย (Direct purposeful experiences)
2. ประสบการณ์จำลอง (Contrived experiences)
3. ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized experiences)
4. การสาธิต (Demonstrations)
5. การศึกษานอกสถานที่ (Study Trips)
6. นิทรรศการ (Exhibitions)
7. โทรทัศน์การศึกษา (Educational television)
8. ภาพยนตร์ (Motion Pictures)
9. ภาพนิ่ง การบันทึกเทป วิทยุ (Still pictures, recordings, radio)
10. ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols)
11. วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) เดล ได้กล่าวถึงการสอนว่า เพื่อช่วยให้การสอนมโนภาพ (Teaching of concepts) ได้ผลเราควรใช้กรวยประสบการณ์ ซึ่งเป็นแนวทางที่แสดงให้เห็นขั้นตอน ของประสบการณ์ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนจากประสบการณ์ตรงไปจนถึงประสบการณ์นามธรรมในที่สุด
สำเภา (2518) ได้จำแนกประเภทสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ
สำเภา (2518) ได้จำแนกประเภทสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. วัสดุและเครื่องมือที่ไม่ต้องฉาย
ได้แก่ วัสดุเครื่องมือที่ไม่ต้องอาศัยเครื่องฉายและจอ เช่น รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง ลูกโลก แผนที่ กระดานดำ ป้ายนิเทศ เป็นต้น รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงละคร นิทรรศการ การสาธิต การทดลอง เป็นต้น
2. วัสดุและเครื่องมือที่ต้องฉาย
ได้แก่ สิ่งที่ต้องใช้เครื่องฉาย เช่น สไลด์ ฟิล์มสคริป แผ่นภาพโปร่งใส ภาพยนตร์ ภาพทึบแสง บรรดาสิ่งที่จะนำไปฉายเหล่านี้ เรียกว่า “ วัสดุ” ส่วนเครื่องซึ่งใช้ฉาย ได้แก่ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฟิล์มสคริป เครื่องภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เรียกว่า “อุปกรณ์” 3. โสตวัสดุและอุปกรณ์
ได้แก่ วัสดุและอุปกรณ์เกี่ยวกับเสียง เช่น แผ่นเสียง เทป แผ่นซีดีรอม และเครื่องเทป เครื่องรับวิทยุ เครื่องขยายเสียง
สุรชัย (2528 : 3-4 ) ท่านเรียกสื่อการสอน ในชื่อของวัสดุและเครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษาท่านได้จำแนกประเภทของวัสดุเทคโนโลยีการศึกษา ออกเป็น 3 ประเภท คือ
สุรชัย (2528 : 3-4 ) ท่านเรียกสื่อการสอน ในชื่อของวัสดุและเครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษาท่านได้จำแนกประเภทของวัสดุเทคโนโลยีการศึกษา ออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. วัสดุสามมิติ
ได้แก่ ของจริง , ของจำลอง , หุ่นตัดส่วน เป็นต้น
2. วัสดุสองมิติ
2. วัสดุสองมิติ
แบ่งได้เป็น 3 ประเภทย่อย คือ
2.1 วัสดุสองมิติทึบแสง
ได้แก่ ภาพถ่าย , ภาพวาด , แผนภูมิ , แผนภาพภาพผลึก , แผนสถิติ , แผนที่ , ภาพโฆษณา , การ์ตูน , การ์ตูนเรื่อง , บัตรคำหรือบัตรภาพ สำหรับการใช้อย่างอิสระ หรือใช้กับแผ่นป้ายไฟฟ้า แผ่นป้ายสำลี แผ่นป้ายแม่เหล็ก , แผ่นป้ายกระเป๋าผนัง และวัสดุสิ่งพิมพ์อื่นๆ
2.2 วัสดุสองมิติโปร่งแสง ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสคริป แผ่นภาพโปร่งใส เป็นต้น
2.3 วัสดุสองมิติเคลื่อนไหวโปร่งแสง
ได้แก่ ภาพยนตร์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ เป็นต้น
3. วัสดุอิเล็คทรอนิค
ได้แก่ วัสดุเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใช้กับเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ เช่น เทปเสียง เทปภาพโทรทัศน์ วัสดุโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นต้น ชแรม ( Schramm , 1971 ) ได้จำแนกสื่อไว้ตามความเก่าใหม่ของการเกิดไว้เป็น 4 รุ่น คือ
1. รุ่นทวด
ได้แก่ สื่อการสอนที่มีมานานแล้ว เช่น กระดานชอล์ก การสาธิต การแสดงละคร นิทรรศการ หุ่นจำลอง แผนภูมิ แผนที่ กราฟ
2. รุ่นปู่
ได้แก่ สื่อการสอนพวกตำราเรียน แบบทดสอบ เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นหลังปี ค.ศ. 1450
3. รุ่นพ่อ
ได้แก่ สื่อประเภทภาพถ่าย สไลด์ ฟิล์มสคริป เครื่องฉายวัสดุทึบแสง ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์
4. รุ่นปัจจุบัน
ได้แก่ การสื่อความหมายระหว่างคนกับเครื่องจักรกล เช่น ห้องปฏิบัติการทางภาษา บทเรียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น