Myspace Glitter Graphics, MySpace Graphics, Glitter GraphicsMyspace Glitter Graphics, MySpace Graphics, Glitter GraphicsMyspace Glitter Graphics, MySpace Graphics, Glitter GraphicsMyspace Glitter Graphics, MySpace Graphics, Glitter GraphicsMyspace Glitter Graphics, MySpace Graphics, Glitter GraphicsMyspace Glitter Graphics, MySpace Graphics, Glitter GraphicsMyspace Glitter Graphics, MySpace Graphics, Glitter Graphics
Backgrounds From myglitterspace.Com

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550

การเลือกและการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน

การพิมพ์จึงเป็นวิธีการหนึ่งในการนำมาใช้ผลิตสำเนาเอกสารทางวิชาการซึ่งต้องการปริมาณมาก เช่น หนังสือ ตำราต่าง ๆ เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน หรือเพื่อใช้เป็นคู่มือ เป็นตำราในการค้นคว้าอ้างอิง ทั้งยังช่วยในการเผยแพร่ ความคิดทางด้าน วิทยาการต่าง ๆ ให้เจริญก้าวหน้าอีกด้วย ในการให้การศึกษาจำเป็นต้องมีเอกสารประกอบการเรียนการสอน เพื่อขยายความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ ให้กว้างขวางขึ้น
....ชาวจีนเป็นประเทศแรกที่คิดค้นวิธีการพิมพ์ขึ้นก่อน โดยค้นพบวิธีการทำกระดาษ การทำหมึก และตัวพิมพ์ขึ้นโดย ใช้ดินเหนียว ต่อมาชาวเกาหลีได้คิดค้นดัดแปลงตัวพิมพ์ทำด้วย โลหะหล่อซึ่งได้ผลในการพิมพ์ดีขึ้นและทนทาน สามารถนำมา ใช้ได้หลายครั้งเป็น เวลานาน หลังจากนั้นประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เยอรมัน อังกฤษ และอเมริกา ได้พัฒนาการพิมพ์ให้มี ประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นจน ปัจจุบันสามารถพิมพ์ภาพสีได้เหมือนกันธรรมชาติมากที่สุด การพิมพ์ในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อราว รัชกาลที่ 4 โดย บุคคลที่นำระบบ การพิมพ์มาเผยแพร่ได้แก่ หมด บลัดเลย์ ซึ่งเป็นผู้เริ่มงานพิมพ์เป็นคนแรก

วันพุธที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อักษร

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2550


สื่อกราฟิกประเภทแผนภาพ Diagram เป็นสื่อที่รับรู้จากการมองเห็น โดยพยายามแสดงสาระที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้ การทำงานของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มีลักษณะแตกต่างกันดังนี้แผนภาพลายเส้นแสดงระบบประปาเข้าอาคาร
1. แผนภาพลายเส้น เนื่องจากการมองภาพของจริงบางชนิดยากแก่การทำความเข้าใจ จึงมีการเขียนเป็นลายเส้นโดยลดความซับซ้อนในรายละเอียดลงไปบ้างก็ได้ หรือให้เหมือนมองทะลุผ่านเข้าไปภายในก็ได้ แล้วมีเส้นตรง เส้นโค้ง เป็นตัวเชื่อมโยงให้เห็นความต่อเนื่องสัมพันธ์กัน เช่น แผนภาพลายเส้นแสดงการปิด-เปิดวงจรไฟฟ้า ระบบสูบน้ำขึ้นอาคารแผนภาพแบบรูปภาพการรับสัญญาณโทรทัศน์จากสายอากาศ 2 ชุด
2. แผนภาพแบบรูปภาพ เป็นแผนภาพที่ใช้ภาพจริง เช่น ภาพถ่าย หรือภาพเหมือนจริงที่เขียนขึ้นใหม่มาจัดเป็นองค์ประกอบแล้วแสดงความสัมพันธ์กันด้วยเส้นที่จัดไว้อย่างเป็นระเบียบ เช่น แผนภาพการทำงานของชุดเครื่องเสียง การรับสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แผนภาพแบบผสม และส่วนต่างๆ ของรถยนต์
3. แผนภาพแบบผสม เป็นการรวมกันระหว่างแบบลายเส้นและแบบรูปภาพ โดยเน้นที่ความเหมือนจริง แล้วเพิ่มลายเส้นลงไปในภาพ เพื่อแสดงความสัมพันธ์หรือการทำงานของสิ่งนั้นๆ เช่น ภาพแสดงการไหลเวียนอากาศในรถยนต์


สรุปเนื้อหาความหมายของสื่อการสอนความหมายของสื่อการสอน
หมายถึง วัสดุอุปกรณ์หรือวิธีการใดๆที่ครูผู้สอนนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนทำหน้าที่เป็นตัวกลางหรือเป็นตัวเชื่อมในการถ่ายทอด ความรู้ ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียน สื่อการสอนแต่ละชนิดมีคุณค่าและคุณสมบัติเศษแตกต่างกันในการเก็บความรู้และแสดงความหมาย บางชนิดสามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวมันเองแต่บางชนิดต้องอาศัยสื่ออื่นประกอบในการถ่ายทอดจึงจะสื่อความหมายได้ดีสื่อบางชนิดได้รับการออกแบบเป็นอย่างดีเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และหาประสบการณ์ได้ด้วยตนเอง โดยที่ครูสอนไม่จำเป็นต้องนำมาแสดงในขณะที่สอน สื่อชนิดนี้เรียกว่า สื่อการเรียนรู้(learning media) เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ( computer – assistedinstruction ) บทเรียนสำเร็จรูป( instructional textbook ) ศูนย์การเรียน( learning center )ชุดการเรียน(instructional package ) เป็นต้น แต่ไม่ว่าจะเป็นสื่อการสอนหรือสื่อการเรียนรู้ต่างก็ทำหน้าที่เป็นพาหะในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากแหล่งกำเนิดต่างๆไปสู่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นคุณค่าสื่อการสอนสื่อการสอนแต่ละชนิดมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนดังนี้
1. เป็นศูนย์รวมความสนใจของผู้เรียน
2. ทำให้บทเรียนเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น
3. ช่วยให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กว้างขวางขึ้น
4. ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ร่วมกัน
5. แสดงความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆได้
6. ให้ความหมายแก่คำที่เป็นนามธรรมได้
7. แสดงสิ่งที่ลี้ลับให้เข้าใจง่ายขึ้น
8. อธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้เข้าใจง่ายขึ้น
9. สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่างๆได้เช่น
9. 1 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้นได้
9.2 ทำให้สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ช้าขึ้นได้
9.3 ย่อสิ่งที่เล็กเกินไปให้เล็กลงได้
9.4 ขยายสิ่งที่ใหญ่เกินไปให้ใหญ่ขึ้นมาได้
9.5 นำสิ่งที่อยู่ไกลเกินไปมาศึกษาดูได้
9.6 นำสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตมาให้ดูได้คุณค่าของสื่อการสอนด้านต่างๆสื่อการสอนแต่ละชนิดมีคุณค่าในด้านต่างๆดังนี้
1. คุณค่าด้านวิชาการ
1.1 ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยตรงด้วยประสาทสัมผัสทั้ง5
1.2 ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่าไม่ใช้สื่อการสอน
1.3 ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่างๆได้กว้างขวางยิ่งขึ้น
1.4 ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา
1.5 ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ถูกต้อง แม่นยำและจำได้นาน
1.6 สื่อการสอนบางชนิดช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพวีดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้
2.1 กระตุ้นความสนใจและความต้องการของผู้เรียนมากขึ้น
2.2 ทำให้ผู้เรียนเกิดคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
2.3 ทำให้เกิดความพึงพอใจในการเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นรูปธรรม
2.4 ทำให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระของบทเรียนได้นานกว่าการไม่ใช้สื่อการสอน
3. คุณค่าด้านเศรษฐกิจ
3.1 ช่วยให้ผู้เรียนที่เรียนช้าเรียนได้เร็วและมากขึ้น
3.2 ประหยัดเวลาในการทำความเข้าใจเนื้อหาต่างๆ
3.3 ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้พร้อมกันครั้งละหลายๆคน
3.4 ช่วยขจัดปัญหาเรื่องเวลา สถานที่ ขนาด และระยะทาง


สี
คุณลักษณะของสี เป็นการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ เพื่อเกิดความสวยงาม และความรู้สึกต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้สร้าง คุณลักษณะของสีที่ใช้ โดยทั่วไป มีดังนี้ คือเอกรงค์ (Monochrome) เป็นการใช้สีเพียงสีเดียว แต่มีหลาย ๆ น้ำหนัก ซึ่งไล่เรียงจากน้ำหนักอ่อนไปแก่ เป็นการใช้สีแบบดั้งเดิม ภาพ จิตรกรรมไทย แบบดั้งเดิมจะเป็นลักษณะนี้ ต่อมาเมื่อมีการใช้สีอื่น ๆ เข้ามาประกอบมากขึ้น ทำให้มีหลายสี ซึ่งเรียกว่า "พหุรงค์" ภาพแบบสี เอกรงค์ มักดูเรียบ ๆ ไม่ค่อยน่าสนใจวรรณะของสี (Tone) สีมีอยู่ 2 วรรณะ คือ วรรณะสีร้อน และ สีเย็น สีร้อนคือสีที่ดูแล้วให้ความรู้สึกร้อน สีเย็นคือสีที่ดูแล้วรู้สึกเย็น ซึ่งอยู่ใน วงจรสี สีม่วงกับสีเหลืองเป็นได้ทั้งสีร้อนและสีเย็น แล้วแต่ว่าจะอยู่กับกลุ่ม สีใด การใช้สีในวรรณะเดียวกันจะทำให้เกิดรู้สึกกลมกลืนกัน การใช้สี ต่างวรรณะจะทำให้เกิดความแตกต่าง ขัดแย้ง การเลือกใช้สีในวรรณะ ใด ๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการ และจุดมุ่งหมายของงานค่าน้ำหนักของสี (Value of colour) เป็นการใช้สีโดยให้มีค่าน้ำหนัก ในระดับต่าง ๆ กัน และมีสีหลาย ๆ สี ซึ่งถ้าเป็นสีเดียว ก็จะมีลักษณะเป็น สีเอกรงค์ การใช้ค่าน้ำหนักของสี จะทำให้เกิดความกลมกลืน เกิดระยะ ใกล้ไกล ตื้นลึก ถ้ามีค่าน้ำหนักหลาย ๆ ระดับ สีก็จะกลมกลืนกันมากขึ้น แต่ถ้ามีเพียง1 - 2 ระดับที่ห่างกัน จะทำให้เกิดความแตกต่างความเข้มของสี (Intensity)เกิดจาก สีแท้ คือสีที่เกิดจากการผสมกัน ในวงจรสี เป็นสีหลักที่ผสมขึ้นตามกกฎเกณฑ์และไม่ถูกผสมด้วยสีกลาง หรือสีอื่น ๆ จะมีค่าความเข้มสูงสุด หรือแรงจัดที่สุด เป็นค่าความแท้ของสี ที่ไม่ถูกเจือปน เมื่อสีเหล่านี้ อยู่ท่ามกลางสีอื่น ๆ ที่ถูกผสมให้เข้มขึ้น หรือ อ่อนลง ให้มืด หม่น หรือเปลี่ยนค่าไปแล้ว สีแท้จะแสดงความแรงของสี ปรากฎออกมาให้เห็น อย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดจุดสนใจขึ้นในผลงาน ลักษณะเช่นนี้ เหมือนกับ ดอกเฟื่องฟ้าสีชมพูสด ๆ หรือบานเย็น ที่อยู่ท่าม กลางใบเฟื่องฟ้าที่เขียวจัด ๆ หรือ พลุที่ถูกจุดส่องสว่างในยามเทศกาล ตัด กับสีมืด ๆ ทึบ ๆ ทึมๆ ของท้องผ้ายามค่ำคืน เป็นต้นสีส่วนรวม (Tonality) เป็นลักษณะที่มีสีใดสีหนึ่ง หรือกลุ่มสีชุดหนึ่งที่ใกล้ เคียงกัน มีอิทธิพลครอบคลุม สีอื่น ๆ ที่อยู่ในภาพ เช่น ในทุ่งดอกทานตะวัน ที่กำลังออกดอกชูช่อบานสะพรั่ง สีส่วนรวมก็คือ สีของดอกทานตะวัน หรือ บรรยากาศการแข่งขันฟุตบอลในสนาม ถึงแม้ผู้เล่นทั้งสองทีมจะแต่งกาย ด้วยเสื้อผ้า หลากสีต่างกันก็ตาม แต่ สีเขียวของสนามก็จะมีอิทธิพลครอบ คลุม สีต่าง ๆ ทั้งหมด สีใดก็ตามที่มีลักษณะเช่นนี้ เป็นสีส่วนรวมของภาพ


การออกแบบกราฟิก
ความหมายการออกแบบหมายถึง กระบวนการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดหรือจินตนาการออกมาเป็นรูปแบบต่าง ๆทำให้เราสามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัส ซึ่งอาจเป็นทางตาหูผิวสัมผัส รส กลิ่นก็ได้แนวคิด....การออกแบบ เกิดจากพื้นฐานทางความคิดและทางทัศนการสื่อสาร(visual communication)แนวคิด.....การออกแบบเป็นการรักษาสมดุลระหว่างการแสดงออกหรือพลังความคิดสร้างสรรค์เฉพาะบุคคล กับความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายความสำคัญการออกแบบเป็นเรื่องของมนุษย์โดย สัตว์อื่นๆไม่สามารถออกแบบได้ นอกจากการสร้างงานด้วยสัญชาตญาณเท่านั้น มนุษย์มีการออกแบบเพื่อตอบสนองความต้องการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การออกแบบมีมาพร้อมๆกับการเกิดของมนุษย์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และตั่งแต่เกิดจนตายเป้าหมาย
1. เพื่อความสะดวกสบายและตอบสนองความต้องการของมนุษย์
2. เพื่อการสร้างสรรค์และแสดงคุณค่าของผลงาน
3. เพื่อการวางแผนในเชิงทรัพยากรหรือการลดต้นทุน
4. เพื่อประหยัดเวลาในการนำเสนอข่าวสาร
5. เพื่อประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ผู้รับเข้าใจได้อย่างถูกต้องคุณสมบัติของนักออกแบบ
1. มีความรู้ความสามารถและทักษะในการออกแบบ
2. เข้าใจกระบวนการใช้งานออกแบบได้อย่างเหมาะสม
3. มีวิธีนำเสนอผลงานได้อย่างสร้างสรรค์และโดดเด่น
4. มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีและทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
5. สามารถประยุกต์ใช้จิตวิทยาการรับรู้ได้อย่างดีกระบวนการออกแบบ
1. พิจารณาเนื้อหา
2. วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
3. วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของแต่ละงาน
4. จัดองค์ประกอบให้เหมาะสมกับข้อ1,2,และ3

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550

ประเภทของสื่อ

การแบ่งชนิดและประเภทของสื่อการสอนตามผู้รู้แต่ละท่าน
การแบ่งชนิดและประเภทของสื่อการสอนนั้นก็มีผู้แบ่งไว้แตกต่างกันไป แต่โดยสรุปแล้วสื่อการสอนจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. สื่อประเภทวัสดุ (software)หมายถึงสื่อที่มีขนาดเล็ก ทำหน้าที่เก็บเนื้อหาความรู้ในลักษณะของภาพและเสียง สื่อประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

1.1 สื่อวัสดุประเภทสิ่งพิมพ์ (printed) เช่น เอกสารคำสอน หนังสือ ตำรา และสื่อประเภทที่ต้องเขียนหรือพิมพ์ทุกชนิด
1.2 สื่อวัสดุประเภทไม่ใช่สิ่งพิมพ์ (non print) เป็นสื่ออื่นๆที่นอกเหนือจากสิ่งพิมพ์ เช่น ของจริง ของตัวอย่าง ของจำลอง กระดานดำ ป้ายชนิดต่าง ๆ รวมถึงวัสดุที่ต้องใช้กับเครื่องมือ เช่น ม้วนเทปบันทึกเสียง ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นโปร่งใส เทปบันทึกภาพ หรือแผ่นดิสก์ 2. สื่อประเภทอุปกรณ์ (hardware) เป็นสื่อประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้า เมื่อจะทำงาน เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องฉายภาพโปร่งใส เครื่องเทปบันทึกเสียง วิทยุ วิดีโอเทป เครื่องขยายเสียง เครื่องเล่นแผ่นเสียง คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ 3. สื่อประเภทวิธีการ (technique) เป็นสื่อประเภทวิธีการและกิจกรรมหรือกระบวนการและวิธีการสอนต่างๆ เช่น การบรรยาย การสาธิต การสอนรายบุคคล เกมส์ การแสดงละคร กลุ่มสัมพันธ์ การศึกษานอกสถานที่ สถานการณ์จำลอง บทบาทสมมุติ

ชม (2524 : 19) ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. อุปกรณ์หรือเครื่องมือ (Equipment หรือ hardware หรือ Big media) เป็นเรื่องของเครื่องยนต์ กลไก ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิคส์ทั้งหลาย ได้แก่ เครื่องฉายต่างๆ เครื่องวิทยุโทรทัศน์ เครื่องบันทึกเทป เครื่องเล่นซีดี พวกนี้ จะต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ เพื่อนำสารออกไปยังผู้รับสาร 2. วัสดุ (Software) หรือ สื่อเล็ก Small Media) สื่อพวกนี้บางอย่างทำงานเองได้ บางอย่างต้องใช้สื่อใหญ่ Big media

3. วิธีการ สื่อประเภทนี้อาจจะเป็นการกระ เป็นการปฏิบัติ ซึ่งอาจจะใช้สื่อประเภทเบาด้วยก็ได้ไม่มีก็ได้ พวกวิธีการก็มีละคร การสาธิต บทบาทสมมติ

เกอร์ลัชและอีลี (Gerlach & Ely , 1979 : 243 ) ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ดังนี้
1. วัสดุ (Materials) เป็นเนื้อหาวิชาความรู้หรือสิ่งที่เราเก็บและส่งผ่านไปยังผู้รับซึ่งเรียกว่า software เช่น เนื้อหาความรู้ในฟิล์มภาพยนตร์ ซึ่งไม่ใช่ตัวฟิล์มภาพยนตร์ที่เป็นแผ่น

2. เครื่องมือ ( Equipment) เป็นเครื่องมือที่ส่งเนื้อหาความรู้ เรียกว่า Hardware เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์กับฟิล์มภาพยนตร์ เครื่องฉายข้ามศีรษะกับแผ่นภาพโปร่งใส เทปโทรทัศน์ เครื่องเล่นเทป และเครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น 3. เทคนิค (Technique) คือ กระบวนการใช้ เครื่องมือและวัสดุในการจัดการเกี่ยวกับการเรียนการสอน เช่น การเล่นเกม การจัดสถานการณ์จำลอง การสาธิต การทดลอง เป็นต้น ลักษณะเช่นนี้บางครั้งเรียกว่า สื่อประสม ( Multimedia)
นอกจากนี้แล้วเกอร์ลัชและอีลีได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนออกเป็น 8 ประเภท คือ
1. ของจริง (Real Things) รวมทั้งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ การสาธิตของจริงค่อนข้างจะแตกต่างกับสื่ออื่นๆ ที่ไม่สามารถจะใช้แทนวัตถุหรือเหตุการณ์ได้ เกอร์ลัชและอีลี ได้ยกตัวอย่าง เด็กชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่ครูพาไปดูกระบวนการในการทำนมสด โดยการพานักเรียนไปทัศนศึกษา เด็กได้ชิมนมสดที่เพิ่งได้ทำพลาสเจอร์ไรส์แล้วซึ่งเป็นการที่เด็ก ได้สัมผัสกับของจริง
2. วจนสัญลักษณ์ (Verbal Presentations) วจนสัญลักษณ์รวมไปถึงสิ่งพิมพ์ (printed materials) เช่น หนังสือ คู่มือ คำพูดที่เขียนลงบนกระดาน ชื่อที่เขียนลงบนป้ายนิเทศ การใช้วจนสัญลักษณ์นั้น ใช้ผสมกับสื่ออื่นๆ เช่น เป็นคำบรรยายภาพ เป็นชื่อเรื่องในแผ่นสไลด์ ในแผ่นซีดี เพื่อเป็นแนว ในการบันทึกเสียง หรือเป็นแถบเสียงที่อยู่ในฟิล์มภาพยนตร์
3.วัสดุกราฟิก (Graphic Presentations) เช่น แผนภูมิ , แผนภาพ, แผนที่, แผนผัง, ภาพวาด, โปสเตอร์, การ์ตูน เป็นต้น วัสดุประเภทนี้นอกจากจะนำมาใช้ได้โดยตรงแล้ว ยังสามารถปรากฏ ในหนังสือแบบเรียน หนังสืออ้างอิงต่างๆ สิ่งที่อยู่ในสไลด์ในฟิล์มสคริปส์หรือในแผ่นภาพโปร่งใส 4. ภาพนิ่ง (Still Picture) เป็นภาพถ่ายของวัตถุต่างๆ หรือเหตุการณ์ประกอบเป็นภาพนิ่ง ภาพถ่าย อาจปรากฏเป็นรูปภาพในหนังสือ ป้ายนิเทศ สไลด์ ฟิล์มสคริป แผ่นภาพโปร่งใส ภาพนิ่ง เป็นภาพที่ได้บันทึกจากวัตถุจริงๆหรือเหตุการณ์ต่างๆ
5. ภาพเคลื่อนไหว (Motion Picture) ได้แก่ ภาพยนตร์หรือเทปโทรทัศน์ ทั้งสีและขาวดำ ซึ่งถ่ายจากชีวิตจริงหรือจากสถานการณ์จำลอง หรือจากวัสดุกราฟิค ถ้าเป็นการถ่ายจากของจริงหรือ ถ่ายเหตุการณ์อาจจะมีการเคลื่อนไหวตามปกติ แต่ถ้าเป็นการถ่ายโดยวิธีถ่าย Slow motion หรือ Time lapse หรือ Stop motion วัตถุหรือเหตุการณ์ที่ถูกถ่าย อาจถูกตัดต่อให้สั้น หรือเน้นส่วนที่สำคัญ ภาพยนตร์หรือเทปโทรทัศน์อาจเป็นแบบเงียบหรือแบบมีเสียงประกอบก็ได้ ซึ่งเสียงควรจะมีความสัมพันธ์กับภาพซึ่งปรากฏอยู่บนจอภาพ

6. การบันทึกเสียง (Audio Recording) ได้แก่ เสียงจากเทปบันทึกเสียง แผ่นซีดีรอม เป็นต้น เสียงสามารถตัดต่อได้ ความสำคัญของการบันทึกเสียง คือ การใช้วจนวัสดุมาบันทึกนั่นเอง
7. บทเรียนโปรแกรม (Programmed Instruction) เป็นสื่อที่จัดลำดับขั้นตอนในสิ่งที่จะสอน อาจจะใช้สื่อประเภทสัญลักษณ์ทัศนวัสดุ หรือโสตวัสดุเข้ามาช่วย เช่น บทเรียนโปรแกรม ที่ใช้กับเครื่องช่วยสอน หรือใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ บทเรียนโปรแกรมนี้สามารถนำมาใช้กับสื่อชนิดต่างๆ หรือใช้ผสมกันได ้ เช่น สไลด์ เทป ฟิล์มภาพยนตร์ ฟิล์มสคริป ผู้เรียนจะต้องตอบ อย่างกระฉับกระเฉง ก่อนที่นำเนื้อหาในกรอบ (frame)ใหม่จะปรากฏออกมาอีก ผู้เรียนจะรู้ได้ทันทีว่าเขาจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว
8. สถานการณ์จำลอง (Simulation) สถานการณ์จำลองก็เป็นสถานการณ์จริง จัดขึ้นให้ใกล้เคียงกับเหตุการณ์หรือเหมือนกับสถานการณ์จริง เช่น การจำลองการหัดขับรถโดยทำสภาพถนน ฉายบนจอและให้คนขับทดลองขับหลบหลีกเครื่องกีดขวาง เป็นต้น การใช้สถานการณ์จำลองสามารถใช้ร่วมกับสื่อต่าง เช่น คอมพิวเตอร์ เทปบันทึกเสียง เครื่องฉายภาพยนตร์ สไลด์ ของจริง เป็นต้น


อีริคสัน ( Erickson , 1965) ได้จำแนกสื่อการสอนออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. สื่อเก่า (Old or Traditional Media)

ได้แก่ หุ่นจำลอง วัสดุกราฟิก ภาพยนตร์ ภาพนิ่งทั้งหลาย เทปบันทึกเสียง เป็นต้น2. สื่อใหม่ (New Media)

ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ ชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น
อีริคสันและเคิร์ล ( Erickson & Curl , 1965) ได้จำแนกสื่อการสอนออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. สื่อทัศนะที่ไม่ต้องฉาย ( Non-Projected Visual Media)

ได้แก่ สื่อประเภทหนังสือและสิ่งพิมพ์ต่างๆ รูปภาพ ของจริง การทัศนะศึกษา หุ่นจำลอง สถานการณ์จำลองและเกมส์ วัสดุกราฟิก ป้ายนิเทศและนิทรรศการ กระดานข่าว แผ่นป้ายผ้าสำลี กระเป๋าผนัง แผ่นป้ายไฟฟ้า และอื่น

2. สื่อที่ต้องฉายและสื่ออิเลคทรอนิค (Projected and Electronic Media)

ได้แก่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ภาพนิ่งที่ต้องฉาย เช่นฟิล์ใสคริป สไลด์ แผ่นภาพโปร่งใส การฉายไมโคร การฉายวัสดุทึบแสง เป็นต้น การบันทึกเสียง เครื่องเสียง คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ



เดล (Dale , 1969: 107) แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 11 ประเภท
โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น โดยยึดถือเอาความเป็นนามธรรมและรูปธรรม เป็นหลักในการจัดแบ่งประเภท เดลได้จัดแบ่งประเภทของสื่อในรูปของกรวยประสบการณ์ (Core of experience) โดยจัดสื่อที่มีความเป็นรูปธรรม มากที่สุดไว้เป็นฐานกรวย และสื่อที่เป็นนามธรรม ที่สุดไว้ที่ ยอดกรวย ดังนี้

1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย (Direct purposeful experiences)

2. ประสบการณ์จำลอง (Contrived experiences)

3. ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized experiences)

4. การสาธิต (Demonstrations)

5. การศึกษานอกสถานที่ (Study Trips)

6. นิทรรศการ (Exhibitions)

7. โทรทัศน์การศึกษา (Educational television)

8. ภาพยนตร์ (Motion Pictures)

9. ภาพนิ่ง การบันทึกเทป วิทยุ (Still pictures, recordings, radio)

10. ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbols)

11. วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) เดล ได้กล่าวถึงการสอนว่า เพื่อช่วยให้การสอนมโนภาพ (Teaching of concepts) ได้ผลเราควรใช้กรวยประสบการณ์ ซึ่งเป็นแนวทางที่แสดงให้เห็นขั้นตอน ของประสบการณ์ที่จัดให้ผู้เรียนเรียนจากประสบการณ์ตรงไปจนถึงประสบการณ์นามธรรมในที่สุด
สำเภา (2518) ได้จำแนกประเภทสื่อการสอนออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. วัสดุและเครื่องมือที่ไม่ต้องฉาย

ได้แก่ วัสดุเครื่องมือที่ไม่ต้องอาศัยเครื่องฉายและจอ เช่น รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง ลูกโลก แผนที่ กระดานดำ ป้ายนิเทศ เป็นต้น รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ เช่น ทัศนศึกษา การแสดงละคร นิทรรศการ การสาธิต การทดลอง เป็นต้น

2. วัสดุและเครื่องมือที่ต้องฉาย

ได้แก่ สิ่งที่ต้องใช้เครื่องฉาย เช่น สไลด์ ฟิล์มสคริป แผ่นภาพโปร่งใส ภาพยนตร์ ภาพทึบแสง บรรดาสิ่งที่จะนำไปฉายเหล่านี้ เรียกว่า “ วัสดุ” ส่วนเครื่องซึ่งใช้ฉาย ได้แก่ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฟิล์มสคริป เครื่องภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เรียกว่า “อุปกรณ์” 3. โสตวัสดุและอุปกรณ์

ได้แก่ วัสดุและอุปกรณ์เกี่ยวกับเสียง เช่น แผ่นเสียง เทป แผ่นซีดีรอม และเครื่องเทป เครื่องรับวิทยุ เครื่องขยายเสียง
สุรชัย (2528 : 3-4 ) ท่านเรียกสื่อการสอน ในชื่อของวัสดุและเครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษาท่านได้จำแนกประเภทของวัสดุเทคโนโลยีการศึกษา ออกเป็น 3 ประเภท คือ

1. วัสดุสามมิติ

ได้แก่ ของจริง , ของจำลอง , หุ่นตัดส่วน เป็นต้น
2. วัสดุสองมิติ

แบ่งได้เป็น 3 ประเภทย่อย คือ

2.1 วัสดุสองมิติทึบแสง

ได้แก่ ภาพถ่าย , ภาพวาด , แผนภูมิ , แผนภาพภาพผลึก , แผนสถิติ , แผนที่ , ภาพโฆษณา , การ์ตูน , การ์ตูนเรื่อง , บัตรคำหรือบัตรภาพ สำหรับการใช้อย่างอิสระ หรือใช้กับแผ่นป้ายไฟฟ้า แผ่นป้ายสำลี แผ่นป้ายแม่เหล็ก , แผ่นป้ายกระเป๋าผนัง และวัสดุสิ่งพิมพ์อื่นๆ
2.2 วัสดุสองมิติโปร่งแสง
ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสคริป แผ่นภาพโปร่งใส เป็นต้น

2.3 วัสดุสองมิติเคลื่อนไหวโปร่งแสง

ได้แก่ ภาพยนตร์ในรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ เป็นต้น

3. วัสดุอิเล็คทรอนิค

ได้แก่ วัสดุเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใช้กับเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ เช่น เทปเสียง เทปภาพโทรทัศน์ วัสดุโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นต้น ชแรม ( Schramm , 1971 ) ได้จำแนกสื่อไว้ตามความเก่าใหม่ของการเกิดไว้เป็น 4 รุ่น คือ

1. รุ่นทวด

ได้แก่ สื่อการสอนที่มีมานานแล้ว เช่น กระดานชอล์ก การสาธิต การแสดงละคร นิทรรศการ หุ่นจำลอง แผนภูมิ แผนที่ กราฟ

2. รุ่นปู่

ได้แก่ สื่อการสอนพวกตำราเรียน แบบทดสอบ เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นหลังปี ค.ศ. 1450

3. รุ่นพ่อ

ได้แก่ สื่อประเภทภาพถ่าย สไลด์ ฟิล์มสคริป เครื่องฉายวัสดุทึบแสง ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์

4. รุ่นปัจจุบัน

ได้แก่ การสื่อความหมายระหว่างคนกับเครื่องจักรกล เช่น ห้องปฏิบัติการทางภาษา บทเรียนโปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นต้น


วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550

ยังไม่เสร็จ


ความในจัยของเราที่เก็บไวมานานและความใฝฝันที่เราอย่ากจะเป็น

วันเสาร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2550

การสร้างสื่อการเรียนการสอน

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน........
1.1
ความหมาย ประเภท ของสื่อการเรียนการสอน........
1.2
คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน........
1.3
หลักการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน .......

หน่วยที่ 2
จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอน........
2.1
จิตวิทยาการรับรู้........
2.2
จิตวิทยาการเรียนรู้........
2.3
จิตวิทยาพัฒนาการ.....

หน่วยที่ 3
การสื่อสาร........
3.1
ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร........
3.2
รูปแบบของการสื่อสาร........
3.3
แบบจำลองของการสื่อสาร........
3.4
การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอน ....

หน่วยที่4
การออกแบบสื่อการเรียนการสอน........
4.1
ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน........
4.2
วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน........
4.3
การสร้างแบบจำลองการออกแบบสื่อการเรียนการสอน ...

หน่วยที่ 5
การผลิตสื่อกราฟิก........
5.1
ความหมาย และคุณค่าของสื่อกราฟิก........
5.2
การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน........
5.3
การเขียนภาพการ์ตูน........
5.4
การออกแบบตัวอักษรหัวเรื่อง

หน่วยที่ 6
การสร้างสื่อราคาเยา........
6.1
ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อราคาเยา........
6.2
หลักการออกแบบและการสร้างสื่อราคาเยา........
6.3
วัสดุกับเทคนิคการออกแบบ........
6.4
การประมินสื่อการสอนราคาเยา....

หน่วยที่ 7
การผลิตสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์........
7.1
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)........
7.2
การใช้เครือข่ายเพื่อการเรียนการสอน...........

หน่วยที่ 8
การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์........
8.1
ความหมาย คุณค่า และประโยชน์ของสื่อสิ่งพิมพ์........
8.2
ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์........
8.3
ระบบการพิมพ์........
8.4
การเลือกและการใช้สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเรียนการสอน.......